วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 11 สัญลักษณ์เบื้องต้นในงานช่างอุตสาหกรรม

 สัญลักษณ์เบื้องต้นในงานช่างอุตสาหกรรม
สาระการเรียนรู้
การทำงานของเครื่องจักรแต่ละประเภท จะทำให้ผิวของชิ้นงานมีคุณภาพแตกต่างกันไป โดยทั่วไปจึงต้องระบุพื้นผิวที่จะต้องผ่านเครื่องมือกลเอาไว้ด้วย เพื่อให้สามารถตีความและควบคุมคุณภาพของผิวงานได้อย่างถูกต้อง จึงได้กำหนดสัญลักษณ์มาตรฐานของผิวงานเขียนแบบขึ้น สัญลักษณ์เหล่านี้จะเขียนไว้ในภาพที่พื้นผิวปรากฎให้เห็นเป็นเส้นเต็ม ดังนั้น อาจแสดงสัญลักษณ์หลายชิ้นในภาพเดียวกันก็ได้ หรือถ้าจำเป็นก็อาจจะแสดงไว้ในภาพที่พื้นผิวเป็นเส้นประก็ได้
เนื้อหา
1. ความหมายของสัญลักษณ์
2. สัญลักษณ์ต่างๆ ในงานช่างอุตสาหกรรม
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของสัญลักษณ์ได้
2. สามารถกำหนดสัญลักษณ์ลงในแบบงานได้ถูกต้อง
        1. ความหมายของสัญลักษณ์
สัญลักษณ์ หมายถึง สิ่งที่ใช้แทนความเข้าใจ ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ในงานเขียนแบบจึงได้กำหนดมาตรฐานสากลเพื่อช่วยให้เข้าใจรายละเอียดแบบงานชัดเจนยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องอธิบาย การนำผิวงานผ่านกระบวนการทำงานมาแล้ว เช่น ตะไบ กลึง กัด มาส่องดูด้วยแว่นขยาย จะเห็นว่า ผิวชิ้นงานนั้นขรุขระเป็นรูปคลื่น ชิ้นงานใดมีลูกคลื่นสูงแสดงว่าชิ้นงานนั้นมีผิวหยาบ ความหยาบ ละเอียดของผิวงานนี้มีผลกระทบต่องานอย่างมาก ดังนั้นผู้เขียนแบบจึงกำหนดสัญลักษณ์ลงในผิวงานเพื่อง่ายต่อการทำงานและการอ่านแบบ
2. สัญลักษณ์งานช่างอุตสาหกรรม
ในงานช่างอุตสาหกรรมหลายแขนงมีการกำหนดสัญลักษณ์เป็นมาตรฐานสากล และนำมาใช้ในงานเขียนแบบ โดยแบ่งได้หลายแขนง ดังนี้

2.1 สัญลักษณ์ทางเครื่องกล
2.1.1 สัญลักษณ์คุณภาพผิวงานตามมาตรฐาน DIN 3141
ในงานแต่ละงานจะมีคุณสมบัติในงานที่ต่างกัน คุณภาพของผิวงานใช้งานไม่เหมือนกัน เช่น กระบอกสูบของรถยนต์ ผิวต้องเรียบมากๆ เพลาที่ใช้ขับเคลื่อนรถยนต์ ผิวไม่จำเป็นต้องเรียบมาก ดังนั้นในการออกแบบและเขียนแบบงาน สามารถกำหนดมาตรฐานคุณภาพผิวงานอย่างง่าย
2.1.2 สัญลักษณ์เกลียว
สลักเกลียวที่ใช้งานโดยทั่วๆ ไป ทำหน้าที่จับยึดชิ้นงาน สามารถถอดเข้า- ออกได้โดยชิ้นงานไม่เกิดความเสียหาย ถ้านำมาเขียนแบบให้เหมือนของจริงนั้นจะต้องใช้เวลาในการเขียนนานมาก ดังนั้น การเขียนแบบเกลียวจะเขียนได้ง่ายขึ้นโดยการใช้สัญลักษณ์เกลียว ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย (มอก. 210-2520)
1. เส้นผ่านศูนย์กลางยอดเกลียว (MAJOR DIAMETER) คือ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ใหญ่ที่สุดของเกลียว
2. เส้นผ่านศูนย์กลางโคนเกลียว (MINOR DIAMETER) คือ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยอดเกลียวลบด้วยสองเท่าของความลึกฟันเกลียว
3. ความลึกฟันเกลียว (DEPTH) คือ ความลึกของเกลียวที่วัดจากยอดฟันถึงโคนฟันในแนวดิ่ง
3.1 ระยะพิตซ์ (PITCH) คือ ระยะห่างระหว่างฟันเกลียว วัดจากยอดเกลียวหนึ่งถึงอีกยอดเกลียวหนึ่ง
3.2 มุมเกลียว (THREAD ANGLE) คือ มุมของฟันเกลียว
เกลียวมี 2 ลักษณะ คือ เกลียวนอก (สลักเกลียว) และเกลียวใน (แป้นเกลียว) การแสดงสัญลักษณ์เกลียวแต่ละลักษณะจึงมีรูปแบบไม่เหมือนกัน
การเขียนสัญลักษณ์เกลียว
1. การเขียนเส้นเกลียวที่มองเห็น ให้ใช้เส้นเต็มหนาเป็นเส้นยอดเกลียว และเส้นเต็มบางเป็นเส้นโคนเกลียว
2. ภาพด้านหน้าตัดของเกลียวนอก เส้นโคนเกลียวให้เขียนด้วยเส้นเต็มบางยาว 3 ใน 4 ของวงกลม แต่ไม่ชนพอดีกับเส้นผ่านศูนย์กลาง
3. เส้นยอดเกลียวและเส้นโคนเกลียว ให้มีระยะห่างกันประมาณ 0.1 เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยอดเกลียว
4. เส้นเกลียวที่ถูกบัง ให้ใช้เส้นประเขียนแทนยอดเกลียวและโคนเกลียว
5. ภาพด้านหน้าตัดของเกลียวใน เส้นโคนเกลียวให้เขียนด้วยเส้นเต็มบางยาว 3 ใน 4 ของวงกลม ให้อยู่ด้านนอกของรูเจาะ
6. ภาพตัดของเกลียว ให้เขียนเส้นลายตัดถึงยอดเกลียว
7. เส้นสุดความยาวเกลียวที่มองเห็น ให้ใช้เส้นเต็มหนาหรือใช้เส้นเต็มบางในส่วนที่ถูกบัง
8. การเขียนเกลียวประกอบกันให้เขียนเหมือนเกลียวนอกทับเกลียวใน และส่วนที่เป็นเกลียวก็ยังให้เขียนรูปร่างคงเดิม
9. การกำหนดขนาดของเกลียว ใช้ระบบเมตริก โดยการเขียนด้วยสัญลักษณ์ M นำหน้าและเขียนตัวเลขขนาดตามหลังเช่น M10 หมายความว่าเป็นเกลียวเมตริกขนาด 10 มิลลิเมตร
4. สัญลักษณ์ทางงานเชื่อม (สัญลักษณ์ทางงานเชื่อม)
การกำหนดขนาดต่างๆ โดยอาศัยลูกศร
1. ขนาดความโตแนวเชื่อม
2. สัญลักษณ์แนวเชื่อม
3. จำนวนแนวเชื่ม       
4. ความยาวของแนวเชื่อม
5. ระยะห่างระหว่างแนวเชื่อม     
6. ส่วยหางกำหนดคุณสมบัติเฉพาะ หรือกรรมวิธีการเชื่อม (ถ้ามี)
สัญลักษณ์เพิ่มเติม
สัญลักษณ์ธง หมายถึง สถานที่ทำการเชื่อม ซึ่งหมายถึงงานใน สนาม หรืองานที่อยู่นอกโรงงานเชื่อม
 หมายถึง การเชื่อมรอบชิ้นงานอาจจะเป็นวงกลม หรือ สี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หกเหลี่ยม

บทที่ 10 การเขียนภาพช่วย

 การเขียนภาพช่วย
สาระการเรียนรู้
ในการเขียนแบบทั่วไปของชิ้นงาน บางชิ้นพื้นผิวอาจจะได้ฉาก บางชิ้นอาจจะอยู่ในแนวระนาบ และบางชิ้นอาจจะเอียงทำทุม ดังนั้นเพื่อให้การเขียนแบบเข้าใจง่ายยิ่งขึ้นและให้ได้ขนาดตามความเป็นจริง ผู้เขียนควรนำหลักการเขียนแบบภาพช่วย มาใช้ในการเขียนแบบ ซึ่งวิธีการเขียนจะใช้วิธีการหาขนาดจริงของพื้นผิวเรียบ สามารถกระทำได้โดยมองให้สายตาตั้งฉากกับผิวเอียงนั้น และภาพที่เขียนออกมาเรียกว่าภาพช่วย
เนื้อหา
1. ความหมายของภาพช่วย
2. ประเภทของภาพช่วย
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของภาพช่วยได้
2. บอกประเภทของภาพช่วยได้
1. ความหมายของภาพช่วย
        ภาพช่วย หมายถึง ภาพที่แสดงรายละเอียดลักษณะที่แท้จริงของผิวงานด้านนั้น
2. ประเภทของภาพช่วย
         ภาพช่วย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
2.1 ภาพช่วยที่มีลักษณะสมมาตร หมายถึง ภาพที่เมื่อลากเส้นแบ่งครึ่งภาพแล้ว ครึ่งซ้ายและครึ่งขวามีรูปร่างเหมือนกันและมีขนาดเท่ากันทุกประการ และให้ใช้เส้นแบ่งกึ่งกลางของภาพเป็นเส้นอ้างอิงหรือเป็นแนวสมมาตรได้ จากนั้นให้เขียนรูปไปทางซ้ายและทางขวาเท่าๆ

2.2 ภาพช่วยที่มีลักษณะไม่สมมาตร หมายถึงภาพช่วย เมื่อลากเส้นแบ่งครึ่งภาพแล้วทั้งสองข้างมีรูปร่างไม่เหมือนกัน ขณะเขียนภาพช่วยแบบนี้ ให้ยึดเส้นอ้างอิงเป็นหลัก แล้วให้เขียนออกไป ทางใดทางหนึ่ง หรือเขียนออกไปทั้งสองข้างของเส้นอ้างอิงได้ 

บทที่ 9 การเขียนแบบภาพตัด

 การเขียนแบบภาพตัด
สาระการเรียนรู้
ในการเขียนแบบภาพตัด บางครั้งจะพบกับงานที่มีลักษณะซับซ้อนอยู่มาก ไม่สามารถอ่านภาพและเขียนแบบได้ โดยเฉพาะภาพที่มีเส้นประจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อให้การมองภาพภายในได้อย่างชัดเจนและทำความเข้าใจกับแบบงานได้ง่ายยิ่งขึ้น จึงเขียนภาพที่สามารถแสดงรายละเอียดภายในได้อย่างชัดเจนและทำความเข้าใจกับแบบงานได้ง่ายยิ่งขึ้น จึงเขียนภาพที่สามารถแสดงรายละเอียดภายในได้อย่างชัดเจน ภาพนี้เรียกว่า "ภาพตัด"
เนื้อหา
1. ความหมายของภาพตัด
2. ส่วนประกอบของภาพตัด
3. ชนิดของภาพตัด
4. ภาพตัดลักษณะพิเศษ
5. ชิ้นงานที่ได้รับการยกเว้นการตัด
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของภาพตัดได้
2. อธิบายส่วนประกอบของภาพตัดได้
3. เขียนภาพตัดชนิดต่างๆ ได้
4. สามารถเขียนภาพตัดลักษณะพิเศษได้ถูกต้อง
5. สามารถเขียนภาพตัดชิ้นงานที่ได้รับการยกเว้นการตัดได้
        ชิ้นงานที่มีรูปร่างซับซ้อนหรือมีส่วนที่ถูกบังไว้ เมื่อทำการเขียนแบบส่วนที่ถูกบังไว้ต้องเขียนเป็นเส้นประ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความยุ่งยากสับสนในการเขียนแบบและอ่านแบบได้ ดังนั้น จึงนำภาพนั้นมาเขียนเป็นภาพตัด เพื่อสามารถแสดงส่วนที่ถูกบังไว้ หรือรูปร่างภายในชิ้นงานได้อย่างชัดเจน

        1. ความหมายของภาพตัด
ภาพตัด หมายถึง การผ่าหรือตัดเนื้อวัสดุงานเพื่อแสดงรายละเอียดรูปร่างชิ้นงานภายใน เช่น รูเจาะ รูคว้าน ร่องลิ่ม หรือแสดงลักษณะประกอบกันของชิ้นส่วนเครื่องจักรกลต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน
ในการเขียนแบบ การฉายภาพรายละเอียดเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับงานเขียนแบบซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตชิ้นงานสามารถทำได้ถูกต้องยิ่งขึ้น ดังนั้น เทคนิคในการเขียนแบบที่สามารถแสดงรายละเอียดภายในชิ้นส่วนต่างๆ คือ การสมมุติว่า ให้ชิ้นงานถูกตัดออกและภาพที่สมมุติให้ตัดนั้นเรียกว่า ภาพตัด โดยสมมุติให้มีแผ่นกระจกระนาบตัดผ่านตรงกลางวัตถุ
2. ส่วนประกอบของภาพตัด
การเขียนภาพตัดเป็นการเขียนแบบภาพฉายด้านที่ต้องการแสดงให้เห็นรายละเอียดภายในชิ้นงานซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้
2.1 สัญลักษณ์เส้นลายตัด จะเขียนด้วยลายเส้นเต็มบางเอียงทำมุม 45 องศากับแนวระดับ โดยมีระยะห่างระหว่างเส้นเท่ากันสม่ำเสมอในพื้นที่หน้าตัด
2.2 เส้นแนวตัด เป็นเส้นสมมติว่าตัดชิ้นงานผ่านแนวระนาบ แทนด้วยเส้นลูกโซ่หนัก ส่วนทิศทางการมองภาพจะเขียนด้วยหัวลูกศร ซึ่งเขียนด้วยเส้นเต็มหนักชี้เข้าหาเส้นแนวตัด ที่ปลายทั้งสองข้างมีตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่แสดงกำกับอยู่ข้างลูกศรด้วย
3. ชนิดของภาพตัด
ภาพตัดที่เขียนในแบบงานมีหลายชนิด การที่จะเขียนภาพตัดชนิดไหนนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของงานแต่ละชนิด และความต้องการแสดงรายละเอียดส่วนใดของงาน ภาพตัดที่เขียนในแบบงาน มีดังนี้
3.1 ภาพตัดเต็ม (FULL SECTION)
ภาพตัดเต็ม เป็นภาพที่ต้องการแสดงรายละเอียดภายในตลอดเต็มหน้าของชิ้นงานเสมือนผ่าแบ่งครึ่งชิ้นงานให้แยกออกจากกัน
 3.2 ภาพตัดครึ่ง (HALF SECTION)
เป็นภาพที่ตัดวัตถุออก 1 ใน 4 ส่วนของภาพ ภาพตัดครึ่งนี้ส่วนมากจะใช้ตัดวัตถุที่สมมาตรกัน เพื่อให้สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยตัดแยกตามเส้นศูนย์กลาง ส่วนที่ไม่ถูกตัดจะเขียนเป็นภาพปกติ ไม่ใช้เส้นประในภาพตัดครึ่ง จะใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น
3.3 การกำหนดขนาดรูเจาะ สามารถกำหนดขนาดโดยใช้เส้นกำหนดขนาด ซึ่งมีหัวลูกศรข้างเดียว ปลายหางของลูกศรจะต้องลากให้เกินเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กน้อย
3.4 ภาพตัดเยื้องศูนย์ (OFFSET SECTION)
ภาพตัดเยื้องจะมีลักษณะพิเศษคือระนาบตัดเยื้องจะไปตามส่วนที่จะตัดส่วนที่สำคัญต่างๆ ของชิ้นงาน ภาพตัดเยื้องมีข้อดีคือ สามารถแสดงรูปร่างลักษณะ รูเจาะ หรือส่วนที่อยู่ภายในที่มีตำแหน่งไม่ได้อยู่ในแนวเดียวกัน มาร่วมแสดงให้เห็นในแนวเดียวกัน
4. ภาพตัดลักษณะพิเศษ
4.1 ภาพตัดเฉพาะส่วน (PARTIAL SECTION)
ภาพตัดเฉพาะส่วนเป็นภาพตัดเพื่อแสดงรายละเอียดลักษณะรูปร่างที่อยู่ภายในชิ้นงานเฉพาะ บางทีก็เข้าใจแบบงานได้ เช่น บริเวณรูเจาะ ร่องลิ่ม การเขียนภาพตัดเฉพาะส่วนทำได้โดยการเขียนเส้นมือเปล่า (FREE HAND) เฉพาะบริเวณที่ต้องการแสดงรายละเอียด
4.2 ภาพตัดหมุนข้าง (ROTATED SECTION)
ภาพตัดหมุนข้าง เป็นภาพการเขียนเพื่อแสดงรูปร่างหน้าตัดของชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นท่อนยาว ทำได้โดยตัดบริเวณนั้น แล้วหมุนหน้างานไป 90 องศา เพื่อสามารถเข้าใจลักษณะหน้าตัดนั้นอย่างชัดเจน หรือยังสามารถเห็นลักษณะรูปร่าง สัดส่วนของชิ้นงานได้ตามปกติ
4.3 ภาพตัดหมุนเคลื่อน (REMOVEL SECTION)
ภาพตัดหมุนเคลื่อน เป็นภาพตัดที่ใช้ในกรณีที่ชิ้นงานมีรายละเอียดแต่ละช่วงแตกต่างกัน และต้องการแสดงให้เห็นพื้นที่หน้าตัดของแต่ละช่วงนั้น เพราะไม่สามารถแสดงโดยภาพตัดหมุนข้างได้ จะทำให้ยุ่งยากในการอ่านแบบ จึงจำเป็นต้องยกออกมาแสดงให้เห็น
4.4 ภาพตัดหมุนโค้ง (ALIGNED SECTION)
ภาพตัดหมุนโค้ง เป็นภาพตัดที่แสดงรายละเอียดของส่วนที่เอียงหรือบิดไปจากแนวศูนย์กลาง โดยการหมุนโค้งหรือลากเส้นฉายให้มาอยู่ในระนาบเดียวกัน
4.5 ภาพตัดย่อส่วน (CONVENTIONAL SECTION)
สำหรับวัตถุที่มีรูปร่างยาวมากๆ เช่น งานเพลากลม ท่อกลม แท่งโลหะ ถ้าเขียนความยาวจริงทั้งหมดลงไปในกระดาษเขียนแบบจะไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากกระดาษเขียนแบบมีพื้นที่จำกัด ในลักษณะเช่นนี้ สามารถแก้ไขได้โดยใช้วิธีการตัดย่อส่วน การตัดย่อส่วนนี้จะย่อเฉพาะความยาว หน้าตัดของงานยังคงเดิมโดยจะย่อตรงกลางรูป มาตราส่วนต่างๆ ยังคงเหมือนเดิม ลักษณะการตัดย่อรูปจะมีการเขียนแตกต่างกันไปตามลักษณะของวัตถุนั้น
5. ชิ้นงานที่ได้รับการยกเว้นการตัด

การเขียนแบบในชิ้นงานบางประเภท เช่น ซี่ล้อ หรือแขนพวงมาลัย จะเห็นว่า ถ้าตัดในแนวของการตัดจริงๆ จะทำให้เกิดความยุ่งยากในการอ่านและเขียนแบบอย่างมาก ดังนั้นในงานเขียนแบบจึง

บทที่ 8 การเขียนภาพสเกตซ์

 การเขียนภาพสเกตซ์
สาระการเรียนรู้
การสเกตซ์ภาพเป็นการเขียนภาพโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือเขียนแบบ เพียงแต่ใช้ดินสอเขียนบนกระดาษด้วยมือ ผู้เขียนส่วนมากจะเขียนเป็นภาพสเกตซ์ก่อน เพื่อนำมาพิจารณาหาข้อบกพร่องและรายละเอียดต่างๆ แล้วจึงนำภาพนั้นไปเขียนแบบให้ถูกต้อง โดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเขียนแบบ
เนื้อหา
1. ความหมายของการสเกตซ์ภาพ
2. การลากเส้นสเกตซ์ภาพ
3. การสเกตซ์ภาพวงกลมหรือส่วนโค้ง
4. การสเกตซ์ภาพฉาย
5. การสเกตซ์ภาพสามมิติ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของภาพสเกตซ์ได้
2. อธิบายขั้นตอนการลากเส้นสเกตซ์ภาพได้
3. สามารถสเกตซ์ภาพวงกลมหรือส่วนโค้งได้
4. สามารถสเกตซ์ภาพฉายได้
5. สามารถสเกตซ์ภาพสามมิติได้
        1. ความหมายของการสเกตซ์ภาพ
ในการสเกตซ์ภาพ เราใช้เพียงดินสอ ยางลบ และกระดาษเท่านั้น การสเกตซ์ในโรงงานหรือนอกสถานที่ เราใช้สมุด จะบันทึกภาพสเกตซ์ได้ ความคิดริเริ่มในการออกแบบครั้งแรกจะแสดงออกเป็นภาพสเกตซ์ ซึ่งเป็นภาพที่อธิบายส่วนต่างๆ ของแบบได้ละเอียดและเข้าใจได้ง่าย เหมือนกับอธิบายด้วยคำพูด และภาพสเกตซ์เหล่านี้จะถูกนำไปเขียนเป็นแบบให้สมบูรณ์ โดยช่างเขียนแบบอีกครั้งหนึ่ง
การเขียนภาพสเกตซ์ จะไม่ใช้สเกลในการเขียนภาพ ขนาดต่างๆ ของชิ้นงานจะประมาณด้วยสายตา แต่ถ้าใช้กระดาษชนิด CROSS-SECTION PAPER เขียนขนาดที่เรากำหนดก็ใช้วิธีนับช่องตาราง การเขียนภาพสเกตซ์จะให้ใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับขนาดที่แท้จริงของชิ้นงาน ถ้าชิ้นงานเล็กก็เขียนขยายให้ใหญ่พอที่จะอ่านแบบได้ง่าย
ดินสอที่ใช้ในการสเกตซ์ภาพ ใช้ดินสอ HB หรือ F ดินสอจะแหลมมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการใช้งาน
2. การลากเส้นสเกตซ์ภาพ
การลากเส้นตรงจะมีการลากเส้นอยู่ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การลากเส้นนอน ควรกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดในการลากเส้นโดยประมาณด้วยสายตา อาจจุดด้วยดินสอเอาไว้ก่อนก็จะดี แล้วทำการลากเส้นโดยลากจากซ้ายไปขวา และลากเส้นใช้นิ้วก้อยเป็นตัวประคอง ข้อมือแข็ง แต่ข้อศอกและหัวไหล่ เคลื่อนไปตามแนวที่ลากเส้น ด้วยน้ำหนัก และความเร็วที่สม่ำเสมอ และแขนเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ ดังรูป 8.3
2.2 การลากเส้นในแนวดิ่ง ควรกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดในการลากเส้นโดยประมาณด้วยสายตา อาจจุดด้วยดินสอเอาไว้ก่อนก็ได้ แล้วทำการลากเส้นโดยลากจากด้านบนลงมาด้านล่าง ขณะลากเส้นใช้นิ้วก้อยเป็นตัวประคอง ข้อมือแข็ง แต่ข้อศอกและหัวไหล่เคลื่อนไปตามแนวเส้นด้วยน้ำหนักและความเร็วที่สม่ำเสมอ 2.3 การลากเส้นเอียง ควรกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดในการลากเส้น โดยประมาณด้วยสายตา อาจจุดด้วยดินสอเอาไว้ก่อนก็ได้ แล้วทำการลากเส้น โดยลากจากด้านล่างทางซ้ายมือไปด้านบนทางขวามือ หรืออาจจะหมุนกระดาษให้เป็นการลากเส้นในแนวนอนก็ได้ ขณะลากเส้นใช้นิ้วก้อยเป็นตัวประคอง ข้อมือแข็ง แต่ข้อศอกและหัวไหล่เคลื่อนไปตามแนวที่ลากเส้น ด้วยน้ำหนักและความเร็วที่สม่ำเสมอ
3. การสเกตซ์ภาพวงกลมหรือส่วนโค้ง
การเขียนรูปวงกลม มีหลายวิธีแล้วแต่ผู้เขียนจะเลือกใช้ตามความถนัด เช่น
3.1 การสเกตซ์ภาพวงกลมโดยใช้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ร่างภาพสี่เหลี่ยมจัตุรัสหาจุดศูนย์กลางของรูป โดยลากเส้นทแยงมุม กำหนดจุดประมาณของรัศมีวงกลม จากนั้นเขียนส่วนโค้งผ่านจุดที่กำหนด
3.2 การสเกตซ์ภาพวงกลมโดยใช้เส้นรัศมี วิธีนี้ต้องเขียนเส้นผ่านศูนย์กลางก่อนแล้วลากเส้นทแยงมุมอีก 2 เส้น ขีดระยะรัศมีจากจุดศูนย์กลางให้เท่าๆกัน จากนั้นเขียนส่วนโค้งผ่านจุดกำหนด
3.3 การสเกตซ์ภาพวงกลมโดยการหมุนกระดาษ เมื่อกำหนดรัศมีที่จะเขียน ให้ใช้นิ้วก้อยจรดที่จุดศูนย์กลางปลายดินสอ จรดกับรัศมีที่กำหนด แล้วใช้อีกมือหนึ่งหมุนกระดาษไปจนครบรอบวง
3.4 การเขียนวงกลมโดยการวัดระยะ วิธีการสร้าง ใช้การวัดระยะจากชิ้นส่วนต่างๆ ที่มีความยาว สามารถกำหนดระยะได้ เช่น ไม้บรรทัด เศษกระดาษ เป็นต้น แล้วทำการวัดจากศูนย์กลาง แล้วจุดไปรอบวงกลม จากนั้นเขียนส่วนโค้งผ่านจุดกำหนด
3.5 ใช้ดินสอสองแท่งกางรัศมีแทนวงเวียน โดยใช้ปลายดินสอแท่งหนึ่งอยู่จุดศูนย์กลาง และอีกแท่งหนึ่งขีดลงบนกระดาษ เมื่อหมุนกระดาษอย่างช้าๆ ดินสอจะเขียนวงกลมลงบนกระดาษ
3.6 การสเกตซ์วงรีหรือส่วนโค้ง
4. การสเกตซ์ภาพฉาย
5. การสเกตซ์ภาพสามมิติ


บทที่ 7 ภาพสามมิติ (PICTORIAL VIEW)

 ภาพสามมิติ (PICTORIAL VIEW)
สาระการเรียนรู้
        การเขียนแบบงานบางครั้งนอกจากเขียนแบบเป็นภาพฉายแล้ว อาจต้องเขียนภาพชิ้นงานเป็นสามมิติด้วย เพราะภาพสามมิติสามารถแสดงให้เห็นพื้นผิวของชิ้นงานได้ครบทั้งสามมิติในภาพเดียวกัน คือ ความกว้าง ความยาว และความสูง ซึ่งมีลักษณะรูปร่างใกล้เคียงกับงานจริงทำให้เข้าใจในแบบงานง่ายขึ้น
เนื้อหา
1. ความหมายของภาพสามมิติ
2. ประเภทของภาพสามมิติ
3. การเขียนภาพสามมิติ
4. การเขียนวงรีสามมิติ
  จุดประสงค์การเรียนรู้
  1. อธิบายความหมายของภาพสามมิติได้
  2. บอกประเภทของภาพสามมิติได้ถูกต้อง
  3. สามารถเขียนภาพสามมิติแบบต่างๆ ได้
  4. สามารถเขียนวงรีภาพสามมิติได้
  1. ความหมายของภาพ
         ภาพสามมิติหมายถึง การเขียนภาพโดยการนำพื้นผิวแต่ละด้านของชิ้นงานมาเขียนประกอบกันเป็นรูปเดียว ทำให้สามารถมองเห็นลักษณะรูปร่าง พื้นผิว ได้ทั้งความกว้าง ความยาว และความหนาของชิ้นงาน ทำให้ภาพสามมิติมีลักษณะคล้ายกับการมองชิ้นงานจริง ภาพสามมิติที่เขียนในงานเขียนแบบมีหลายประเภท แต่ละประเภทก็มีความแตกต่างกันในการวางมุมการเขียน และขนาดของชิ้นงานจริง กับขนาดชิ้นงานในการเขียนแบบซึ่งผู้เขียนแบบต้องศึกษาลักษณะของภาพสามมิติแต่ละประเภทต่างๆ ให้เข้าใจ เพื่อสามารถปฏิบัติการเขียนแบบได้อย่างถูกต้อง
  2. ประเภทของภาพสามมิติ
  ภาพสามมิติสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท ดังนี้
   2.1 ภาพสามมิติแบบ TRIMETRIC เป็นภาพสามมิติที่มีความสวยงาม และลักษณะ
คล้ายของจริงมากที่สุดและเป็นภาพที่ง่ายต่อการอ่านแบบเพราะเป็นภาพที่เขียนได้ยาก เนื่อง
จากมุมที่ใช้เขียนเอียง 12 องศา และ 23 องศา และอัตราความยาวของแต่ละด้านไม่เท่ากัน
   2.2 ภาพสามมิติแบบ DIMETRIC เป็นภาพสามมิติที่มีลักษณะคล้ายกับภาพถ่ายและ
ง่ายต่อการอ่านแบบ แต่ไม่ค่อยนิยมในการเขียนแบบเพราะเป็นภาพที่เขียนได้ยาก เนื่องจากมุม
ที่ใช้เขียน เอียง 7 องศา และ 42 องศา และขนาดความหนาของภาพที่เขียนจะลดขนาดลงครึ่ง
หนึ่งของความหนาจริง
   2.3 ภาพสามมิติแบบ ISOMETRIC เป็นภาพสามมิติที่นิยมเขียนมาก เพราะภาพที่
เขียนง่าย เนื่องจากภาพมีมุมเอียง 30 องศา ทั้งสองข้างเท่ากัน และขนาดความยาวของภาพ
ทุกด้านจะมีขนาดเท่าขนาดงานจริง ภาพที่เขียนจะมีขนาดใหญ่มากทำให้เปลืองเนื้อที่กระดาษ
   2.4 ภาพสามมิติแบบ OBQIUE
เป็นภาพสามมิติที่นิยมเขียนมาก สำหรับงานที่มีรูปร่างเป็นส่วนโค้ง หรือรูกลมเพราะสามารถเขียนได้ง่ายและรวดเร็วเนื่องจากภาพ OBQIUE จะวางภาพด้านหนึ่งอยู่ในแนวระดับ เอียงทำมุมเพียงด้านเดียว โดยเขียนเป็นมุม 45 องศา สามารถเขียนเอียงได้ทั้งด้านซ้ายและขวาความหนาของงานด้านเอียงขนาดลดลงครึ่งหนึ่ง ภาพ OBQIUE มี 2 แบบ คือ แบบคาวาเลียร์ (CAVALIER) และแบบคาบิเนต (CABINET)
  2.5 ภาพสามมิติแบบ PERSPECTIVE หรือ ภาพทัศนียภาพ
เป็นภาพสามมิติที่มีมุมในลักษณะการมองไกล โดยจะเขียนภาพเข้าสู่จุดรวมของสายตา การเขียนภาพสามมิติชนิดนี้มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด
        3. การเขียนภาพสามมิติ
          แกนไอโซเมตริก (ISOMETRIC AXIS) เส้น XO, YO, ZO ทำมุมระหว่างกัน 120 องศา เท่ากันทั้งสามมุม เส้นทั้งสามนี้เรียกว่า แกนไอโซเมตริก ซึ่งแกนไอโซเมตริกนี้สามารถวางได้หลายทิศทาง ขึ้นอยู่กับรูปร่างของชิ้นงานที่ต้องการแสดงรายละเอียด
  3.1 การเขียนภาพ ISOMETRIC ทุกภาพจะเริ่มจากการเขียนเส้นร่างจากกล่องสี่เหลี่ยม โดยมีขนาดความกว้าง ความยาว และความสูง ซึ่งจะได้จากการกำหนดขนาดจากภาพฉาย จากนั้น เขียนรายละเอียดส่วนต่างๆ ของ
  3.2 การเขียนภาพ OBLIQUE ทุกภาพจะเริ่มจากการเขียนเส้นร่างจากกล่องสี่เหลี่ยม โดยมีขนาดความยาว ความยาว และความสูงเท่ากับขนาดของชิ้นงานจริง ซึ่งจะได้จากการบอกขนาดในภาพฉาย ลากเส้นเอียง 45 องศา จากขอบงานด้านหน้าไปยังด้านหลัง โดยให้มีความยาวเท่ากับครึ่งหนึ่งกับความกว้างที่กำหนดให้จากภาพฉายด้านข้าง ลากเส้นร่างเป็นรูปกล่องสี่เหลียม จากนั้น เริ่มเขียนส่วนต่างๆ ของชิ้นงาน ลบเส้นที่ไม่ใช้ออก และลงเส้นหนักที่รูปงาน (
4. การเขียนวงรีภาพสามมิติ
   4.1 การเขียนวงรีแบบ ISOMETRIC
ชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นทรงกระบอก หรืองานที่มีหน้าตัดกลม เช่น รูปกลม ส่วนโค้ง เมื่อเขียนเป็นภาพไอโซเมตริกแล้ว หน้าตัดของรูปทรงกระบอกหรือรูกลมนั้นจะเอียงเป็นมุม 30 องศา หรือทำให้มองเห็นเป็นลักษณะวงรี
           4.2 การเขียนวงรีแบบ OBQIUE
การวางภาพออบลิค ภาพด้านหน้าที่เห็นรายละเอียดชัดเจนที่สุดหรืองานที่เป็นรูปทรงกระบอกส่วนโค้ง หรือรูกลม ซึ่งจะทำให้งานเขียนแบบทำได้ง่าย


บทที่ 6 ภาพฉาย (ORTHOGRAPHIC DRAWING)

 ภาพฉาย (ORTHOGRAPHIC DRAWING)
สาระการเรียนรู้
        ในงานช่างอุตสาหกรรมจะนำแบบงานไปเป็นแบบที่ใช้สำหรับสร้างชิ้นส่วนเครื่องจักรกลหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งจะต้องเป็นแบบที่เขียนได้ง่าย มีรายละเอียดของแบบงานครบถ้วนสมบูรณ์ชัดเจน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถนำไปปฏิบัติตามแบบได้อย่างถูกต้อง แบบงานที่นิยมจะเขียนเป็นแบบภาพฉาย เพราะสามารถแสดงรายละเอียดต่างๆ เช่น รูปร่าง ผิวงาน และกำหนดขนาดที่ชัดเจน
        เนื้อหา
        1. ลักษณะการฉายภาพ
        2. ตำแหน่งการมองภาพฉาย
        3. การฉายภาพมุมที่ 1
        4. การฉายภาพมุมที่ 3
        จุดประสงค์การเรียนรู้
        1. บอกลักษณะของการฉายภาพได้
        2. บอกตำแหน่งการมองภาพฉายได้
        3. สามารถเขียนภาพฉายมุมที่ 1 ได้
        4. สามารถเขียนภาพฉายมุมที่ 3 ได้
1. ลักษณะการฉายภาพ
           ภาพฉาย เป็นภาพลายเส้นที่บอกขนาดสัดส่วนต่างๆ ที่อ่านค่าแล้วเอามาทำงานได้ ภาพฉายส่วนใหญ่จะเขียนหรืออ่านมาจากภาพไอโซเมตริกหรือภาพของจริง มองแต่ละด้านแล้วเขียนออกมาตามภาพที่มองเห็นนั้นๆ ในแต่ละด้านของชิ้นงานตามปกติชิ้นงานจะมีทั้งหมด 6 ด้าน เหมือนลูกเต๋า แต่ภาพในการทำงานจริงจะใช้เพียง 3 ด้าน เท่านั้น ในส่วนที่มองไม่เห็นจะเขียนแสดงด้วยเส้นประ
ด้านของภาพที่ใช้งานจะเป็นด้านหน้า (Front View : F) ด้านข้าง (Side View : S) และ ด้านบน (Top View : T) เท่านั้น
การฉายภาพในปัจจุบันจะฉายภาพได้ 2 แบบ ตามความนิยม คือ อุตสาหกรรมทางยุโรป และอุตสาหกรรมทางอเมริกา ดังนี้
1. การฉายภาพมุมที่ 1 (FIRST ANGLE PROJECTION) เป็นการเขียนภาพฉายในครอดแลนด์ที่ 1 อาจเรียกการฉายภาพแบบ E-TYPE ใช้เขียนกันทางยุโรปซึ่งนิยมในทางปัจจุบัน
2. การฉายภาพมุมที่ 3 (THIRD ANGLE PROJECTION) เป็นการเขียนภาพฉายในครอดแลนด์ที่ 3 อาจเรียกการฉายภาพแบบ A-TYPE เป็นที่นิยมในอเมริกา
การมองภาพที่อยู่ในตำแหน่งมุมที่ 1 หรือมุมที่ 3 จะใช้สัญลักษณ์บอกลักษณะไว้ที่มุมขอบขวาของแบบด้านใดด้านหนึ่ง ควรจำสัญลักษณ์ให้แม่นยำเพื่อจะได้ไม่สับสน
  2. ตำแหน่งการมองภาพฉาย
        แสดงการมองภาพในตำแหน่งต่างๆ เพื่อจะเขียนภาพฉาย
  การมองภาพฉาย เกิดจากดวงตามองไปยังวัตถุ ถ้าเอาจอไปรับภาพของวัตถุวางไว้ด้านหลัง แล้วใช้ไฟฉายส่องไปยังวัตถุ แสงของไฟฉายผ่านวัตถุ ทำให้เกิดภาพบนจอ ในลักษณะของการขยายภาพให้โตขึ้น ซึ่งไม่ใช่ขนาดของภาพจริง แต่ในทางการเขียนแบบต้องการขนาดภาพเท่ากับของจริง (วัตถุที่นำมามอง) ดังนั้นจึงต้องปรับเส้นในการฉายภาพให้เป็นภาพขนาน เพื่อจะให้ได้ขนาดตามความเป็นจริง โดยกำหนดให้เส้นการมองอยู่ในแนวระนาบพุ่งตรงจากวัตถุไปยังจอภาพ ภาพที่ปรากฏบนจอจะมีขนาดเท่ากับวัตถุนั้นๆ การฉายภาพในลักษณะเช่นนี้ จัดเป็นการฉายภาพในมุมที่หนึ่งของหลักการมองภาพฉาย วัตถุจะอยู่หน้าจอรับภาพ ด้านที่นิยมได้แก่ ภาพด้านหน้า ภาพด้านข้าง และภาพด้านบนที่ใช้ในการเขียนภาพฉาย ซึ่งช่วยให้อ่านภาพได้ง่ายขึ้น
  3. ภาพฉายมุมที่ 1
การมองภาพฉายในตำแหน่งมุมที่ 1 ฉากรับภาพจะอยู่ด้านหลังของชิ้นงาน ทำการฉายภาพให้ไปปรากฏบนฉาก มองเห็นภาพอย่างไรภาพก็จะไปปรากฏบนฉากอย่างนั้นจากด้านที่มอง ซึ่งภาพในทางเขียนแบบจะใช้เฉพาะภาพด้านหน้า ด้านข้าง และภาพด้านบนเท่านั้น
  4. ภาพฉายมุมที่ 3
การมองภาพฉายในตำแหน่งมุมที่ 3 ฉากรับภาพจะอยู่ด้านหน้าของชิ้นงาน การฉายภาพ แสงส่องจะกระทบชิ้นงานแล้วสะท้อนมาปรากฎยังฉากรับภาพ จะได้ภาพตามที่มอง


บทที่ 5 การกำหนดขนาด

 การกำหนดขนาด
       สาระการเรียนรู้
       การเขียนแบบจะต้องกำหนดขนาด เพื่อแสดงสภาวะสุดท้ายของชิ้นงาน การกำหนดขนาดจะตองใช้ความละเอียดเป็นพิเศษ ซึ่งการกำหนดขนาดของชิ้นงานนี้จะผิดพลาดไม่ได้ ถ้ากำหนดขนาดผิดพลาดหรือไม่สมบูรณ์จะก่อให้เกิดความเสียหายและเสียเวลาแก่ผู้ผลิตได้
       เนื้อหาสาระ
       1. การกำหนดขนาดความยาว
       2. การกำหนดขนาดมุม
       3. การกำหนดขนาด รัศมี วงกลมและส่วนโค้ง
       จุดประสงค์การเรียนรู้
       1. กำหนดขนาดความยาวของแบบงานได้
       2. กำหนดขนาดความยาวของมุมได้
       3. กำหนดขนาดความยาวของ รัศมี วงกลม และส่วนโค้งได้
การกำหนดขนาดแบบจัดได้ว่าเป็นหลักของการเขียนแบบอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้อ่านแบบเข้าใจและทำงานได้ถูกต้อง อ่านง่าย สะอาด สวยงาม ซึ่งผู้เขียนแบบจะต้องพิจารณาและระวังให้มาก เพราะถ้าเขียนแบบหรืออ่านแบบผิดพลาดจะทำให้งานนั้นเสียทันที การกำหนดขนาดงานตามมาตรฐานสากล (ISO) จะกำหนดขนาดเป็นมิลลิเมตร โดยเขียนเพียงตัวเลขในแบบงาน ปกติจะกำหนดขนาดจากระนาบอ้างอิง เช่น เส้นกึ่งกลางของชิ้นงาน ซึ่งประกอบด้วยเส้นกำหนดขนาด เส้นช่วยกำหนดขนาด ตัวเลขและหัวลูกศร
1.                การกำหนดขนาดความยาว
   1) เส้นกำหนดขนาด จะเขียนด้วยเส้นเต็มบาง และขนานกับแบบงาน มีความยาวเท่ากับส่วนเส้นส่วนที่จะกำหนดขนาด มีหัวลูกศรที่ปลายทั้งสองข้าง
      2) เส้นกำหนดขนาดครั้งแรกห่างจากขอบ 8 มม.
      3) เส้นกำหนดขนาดส่วนต่อไป ห่างจากเส้นกำหนดขนาด ขนาดเส้นแรก 5 มม.
      4) ขนาดที่สั้นที่สุดให้อยู่ใกล้แบบที่สุด เส้นยาวถัดไปให้อยู่ถัดไปตามลำดับ
  5) ในกรณีที่พื้นที่กำหนดมีเนื้อที่น้อย ไม่พอที่จะเขียนตัวเลขกำหนดขนาดและหัวลูกศร เราจะเขียนหัวลูกศรไว้ข้างนอก
     6) ถ้ามีที่ว่าง เราสามารถกำหนดขนาดในแบบ เพื่อให้อ่านแบบได้ง่ายและสวยงาม
     7) เส้นกำหนดขนาด จะไม่เขียนบอกต่อจากขอบของชิ้นงานโดยตรง เพราะอาจจะทำให้เข้าใจ
     8) เส้นกำหนดขนาด ไม่ควรอยู่ในเขต 30 องศา
     9) เส้นช่วยกำหนดขนาดลากตั้งฉากกับส่วนที่จะบอกขนาด ควรลากเลยขอบหัวลูกศรประมาณ 2 มม. ถ้าหากจะใช้เส้นผ่าศูนย์กลางเป็นเส้นช่วยกำหนดขนาด จะต้องลากเส้นนี้ให้เป็นเส้นเต็มบางเลยออกนอกชิ้นงาน
    10) หัวลูกศรมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายทั้งสองข้างระบายทึบ แหลมเรียว มีมุม 15 องศา ยาวประมาณ 3 มม.
    11) ส่วนที่กำหนดขนาดมีเนื้อที่น้อย หัวลูกศรเขียนไว้ข้างนอก
    12) ตัวเลขกำหนดขนาด ควรเขียนไว้เหนือเส้นกำหนดขนาด และมีความสูงของตัวเลขเท่ากันตลอด (ประมาณ 3-4 มม.)
    13) การกำหนดขนาดตามแนวดิ่ง ตัวเลขจะอยู่ทางซ้ายของเส้นกำหนดขนาด และอยู่กึ่งกลางของเส้น
    14) ตัวเลขกำหนดขนาดที่ไม่ได้มาตราส่วนจริงจะขีดเส้นใต้ไว้
    15) ตัวเลขกำหนดขนาดจะต้องอ่านจากด้านล่างแล้วเวียนขวา เมื่อแบบวางอยู่ในลักษณะปกติ
    16) แบบที่เหมือนกันควรกำหนดขนาด ณ ที่ตำแหน่งที่ชัดเจนที่สุด
    17) ไม่ควรกำหนดขนาดที่เส้นประ
    เส้นบรรทัด
    รูป A การบอกขนาดด้านเดียวติดต่อกันจะต้องใช้เส้นบรรทัดฐานจากขอบใดขอบหนึ่งของชิ้นงานเป็นหลัก ส่วนเส้นบรรทัดฐานนี้จะต้องเลือกตามลำดับการทำงาน หรือลักษณะหน้าที่ของส่วนนั้น ดังรูป A
    รูป B ชิ้นงานเหมือนกันกับรูป A แต่ใช้ขอบงาน (c) และ (d) เป็นเส้นบรรทัดฐาน
    รูป C สำหรับงานที่สมมาตรกัน (ด้านซ้ายและขวาเหมือนกัน) จะใช้เส้นศูนย์กลางเป็นเส้นบรรทัดฐานกำหนดขนาดได้
2.         การกำหนดขนาดมุม
   1) ขนาดของมุมต้องมีหน่วยวัดเป็นองศา และถ้าเป็นมุมที่ต้องการความละเอียดมากขึ้น อาจกำหนดให้หน่วยวัดเป็นลิปดาและพิลิปดา เส้นกำหนดขนาดมุมต้องเป็นเส้นโค้ง โดยให้จุดศูนย์กลางของส่วนโค้งอยู่ปลายแหลมของมุมนั้น
   2) มุมที่มีขนาดเท่ากันทั้งสองข้างเส้นศูนย์กลาง จะต้องกำหนดขนาดมุมนั้นรวมกันเป็นมุมเดียว
   3) หากมุมที่กำหนดนั้นไม่ได้แสดงจุดปลายสุดของมุม จะต้องสร้างจุดปลายสุดของมุมโดยลากเส้นบาง หรือเส้นศูนย์กลางต่อจากเส้นหนาออกมาตัดกันให้มุมต่อกันครบสมบูรณ์
   4) หากมุมนั้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ให้ถือเอาเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นเส้นกำหนดขนาด
     การกำหนดขนาดรัศมี วงกลม และส่วนโค้ง
1) ในการกำหนดรัศมี เส้นกำหนดขนาดควรเขียนให้เอียง ไม่เขียนในแนวระดับหรือแนวดิ่ง มีหัวลูกศรข้างเดียว ปลายหัวลูกศรชนขอบของส่วนโค้ง
   2) การกำหนดขนาดรัศมีเล็กๆ ให้เขียนหัวลูกศรไว้ข้างนอก
   3) ตัวเลขเขียนเหนือเส้น
   4) กำหนดจุดศูนย์กลางของส่วนโค้งเล็กๆ โดยขีดเส้นสั้นๆ ตัดกันเป็นจุดศูนย์กลาง
   5) สำหลับส่วนโค้งเล็กๆ ควรใส่ R หน้าตัวเลขกำหนดขนาด
   6) ตัวอักษร R ใช้เขียนไว้หน้าตัวเลขของรัศมีขนาดใหญ่ จุดศูนย์กลางที่อยู่ไกล
   7) จุดศูนย์กลางโตๆ ตามแนวศูนย์กลาง อาจย่นระยะเส้นกำหนดขนาดได้ โดยการทำเส้นกำหนดขนาด
   8) สัญลักษณ์ของเส้นผ่าศูนย์กลาง จะใช้แทนด้วยวงกลมมีเส้นตรงเอียงทำมุม 75 องศา กับแนวระดับและเส้นเอียงมีความสูงเท่ากับตัวเลข ซึ่งสัญลักษณ์วงกลมนี้ () ต้องเขียนไว้ข้างหน้าของตัวเลขกำหนดขนาด
   9) การกำหนดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางสามารถเขียนไว้ภายในวงกลมได้ แต่ถ้าหากว่าวงกลมมีขนาดเล็กก็สามารถเขียนไว้ภายนอกวงกลมได้
   10) ถ้าหากการกำหนดขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางภายในวงกลมทำให้ยุ่งยาก ผู้เขียนสามารถโยงเส้นออกมากำหนดขนาดภายนอกวงกลมได้
   11) ตัวเลขกำหนดขนาดเขียนเหนือเส้น อ่านเวียนขวา