วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 9 การเขียนแบบภาพตัด

 การเขียนแบบภาพตัด
สาระการเรียนรู้
ในการเขียนแบบภาพตัด บางครั้งจะพบกับงานที่มีลักษณะซับซ้อนอยู่มาก ไม่สามารถอ่านภาพและเขียนแบบได้ โดยเฉพาะภาพที่มีเส้นประจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อให้การมองภาพภายในได้อย่างชัดเจนและทำความเข้าใจกับแบบงานได้ง่ายยิ่งขึ้น จึงเขียนภาพที่สามารถแสดงรายละเอียดภายในได้อย่างชัดเจนและทำความเข้าใจกับแบบงานได้ง่ายยิ่งขึ้น จึงเขียนภาพที่สามารถแสดงรายละเอียดภายในได้อย่างชัดเจน ภาพนี้เรียกว่า "ภาพตัด"
เนื้อหา
1. ความหมายของภาพตัด
2. ส่วนประกอบของภาพตัด
3. ชนิดของภาพตัด
4. ภาพตัดลักษณะพิเศษ
5. ชิ้นงานที่ได้รับการยกเว้นการตัด
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของภาพตัดได้
2. อธิบายส่วนประกอบของภาพตัดได้
3. เขียนภาพตัดชนิดต่างๆ ได้
4. สามารถเขียนภาพตัดลักษณะพิเศษได้ถูกต้อง
5. สามารถเขียนภาพตัดชิ้นงานที่ได้รับการยกเว้นการตัดได้
        ชิ้นงานที่มีรูปร่างซับซ้อนหรือมีส่วนที่ถูกบังไว้ เมื่อทำการเขียนแบบส่วนที่ถูกบังไว้ต้องเขียนเป็นเส้นประ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความยุ่งยากสับสนในการเขียนแบบและอ่านแบบได้ ดังนั้น จึงนำภาพนั้นมาเขียนเป็นภาพตัด เพื่อสามารถแสดงส่วนที่ถูกบังไว้ หรือรูปร่างภายในชิ้นงานได้อย่างชัดเจน

        1. ความหมายของภาพตัด
ภาพตัด หมายถึง การผ่าหรือตัดเนื้อวัสดุงานเพื่อแสดงรายละเอียดรูปร่างชิ้นงานภายใน เช่น รูเจาะ รูคว้าน ร่องลิ่ม หรือแสดงลักษณะประกอบกันของชิ้นส่วนเครื่องจักรกลต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน
ในการเขียนแบบ การฉายภาพรายละเอียดเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับงานเขียนแบบซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตชิ้นงานสามารถทำได้ถูกต้องยิ่งขึ้น ดังนั้น เทคนิคในการเขียนแบบที่สามารถแสดงรายละเอียดภายในชิ้นส่วนต่างๆ คือ การสมมุติว่า ให้ชิ้นงานถูกตัดออกและภาพที่สมมุติให้ตัดนั้นเรียกว่า ภาพตัด โดยสมมุติให้มีแผ่นกระจกระนาบตัดผ่านตรงกลางวัตถุ
2. ส่วนประกอบของภาพตัด
การเขียนภาพตัดเป็นการเขียนแบบภาพฉายด้านที่ต้องการแสดงให้เห็นรายละเอียดภายในชิ้นงานซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้
2.1 สัญลักษณ์เส้นลายตัด จะเขียนด้วยลายเส้นเต็มบางเอียงทำมุม 45 องศากับแนวระดับ โดยมีระยะห่างระหว่างเส้นเท่ากันสม่ำเสมอในพื้นที่หน้าตัด
2.2 เส้นแนวตัด เป็นเส้นสมมติว่าตัดชิ้นงานผ่านแนวระนาบ แทนด้วยเส้นลูกโซ่หนัก ส่วนทิศทางการมองภาพจะเขียนด้วยหัวลูกศร ซึ่งเขียนด้วยเส้นเต็มหนักชี้เข้าหาเส้นแนวตัด ที่ปลายทั้งสองข้างมีตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่แสดงกำกับอยู่ข้างลูกศรด้วย
3. ชนิดของภาพตัด
ภาพตัดที่เขียนในแบบงานมีหลายชนิด การที่จะเขียนภาพตัดชนิดไหนนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของงานแต่ละชนิด และความต้องการแสดงรายละเอียดส่วนใดของงาน ภาพตัดที่เขียนในแบบงาน มีดังนี้
3.1 ภาพตัดเต็ม (FULL SECTION)
ภาพตัดเต็ม เป็นภาพที่ต้องการแสดงรายละเอียดภายในตลอดเต็มหน้าของชิ้นงานเสมือนผ่าแบ่งครึ่งชิ้นงานให้แยกออกจากกัน
 3.2 ภาพตัดครึ่ง (HALF SECTION)
เป็นภาพที่ตัดวัตถุออก 1 ใน 4 ส่วนของภาพ ภาพตัดครึ่งนี้ส่วนมากจะใช้ตัดวัตถุที่สมมาตรกัน เพื่อให้สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยตัดแยกตามเส้นศูนย์กลาง ส่วนที่ไม่ถูกตัดจะเขียนเป็นภาพปกติ ไม่ใช้เส้นประในภาพตัดครึ่ง จะใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น
3.3 การกำหนดขนาดรูเจาะ สามารถกำหนดขนาดโดยใช้เส้นกำหนดขนาด ซึ่งมีหัวลูกศรข้างเดียว ปลายหางของลูกศรจะต้องลากให้เกินเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กน้อย
3.4 ภาพตัดเยื้องศูนย์ (OFFSET SECTION)
ภาพตัดเยื้องจะมีลักษณะพิเศษคือระนาบตัดเยื้องจะไปตามส่วนที่จะตัดส่วนที่สำคัญต่างๆ ของชิ้นงาน ภาพตัดเยื้องมีข้อดีคือ สามารถแสดงรูปร่างลักษณะ รูเจาะ หรือส่วนที่อยู่ภายในที่มีตำแหน่งไม่ได้อยู่ในแนวเดียวกัน มาร่วมแสดงให้เห็นในแนวเดียวกัน
4. ภาพตัดลักษณะพิเศษ
4.1 ภาพตัดเฉพาะส่วน (PARTIAL SECTION)
ภาพตัดเฉพาะส่วนเป็นภาพตัดเพื่อแสดงรายละเอียดลักษณะรูปร่างที่อยู่ภายในชิ้นงานเฉพาะ บางทีก็เข้าใจแบบงานได้ เช่น บริเวณรูเจาะ ร่องลิ่ม การเขียนภาพตัดเฉพาะส่วนทำได้โดยการเขียนเส้นมือเปล่า (FREE HAND) เฉพาะบริเวณที่ต้องการแสดงรายละเอียด
4.2 ภาพตัดหมุนข้าง (ROTATED SECTION)
ภาพตัดหมุนข้าง เป็นภาพการเขียนเพื่อแสดงรูปร่างหน้าตัดของชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นท่อนยาว ทำได้โดยตัดบริเวณนั้น แล้วหมุนหน้างานไป 90 องศา เพื่อสามารถเข้าใจลักษณะหน้าตัดนั้นอย่างชัดเจน หรือยังสามารถเห็นลักษณะรูปร่าง สัดส่วนของชิ้นงานได้ตามปกติ
4.3 ภาพตัดหมุนเคลื่อน (REMOVEL SECTION)
ภาพตัดหมุนเคลื่อน เป็นภาพตัดที่ใช้ในกรณีที่ชิ้นงานมีรายละเอียดแต่ละช่วงแตกต่างกัน และต้องการแสดงให้เห็นพื้นที่หน้าตัดของแต่ละช่วงนั้น เพราะไม่สามารถแสดงโดยภาพตัดหมุนข้างได้ จะทำให้ยุ่งยากในการอ่านแบบ จึงจำเป็นต้องยกออกมาแสดงให้เห็น
4.4 ภาพตัดหมุนโค้ง (ALIGNED SECTION)
ภาพตัดหมุนโค้ง เป็นภาพตัดที่แสดงรายละเอียดของส่วนที่เอียงหรือบิดไปจากแนวศูนย์กลาง โดยการหมุนโค้งหรือลากเส้นฉายให้มาอยู่ในระนาบเดียวกัน
4.5 ภาพตัดย่อส่วน (CONVENTIONAL SECTION)
สำหรับวัตถุที่มีรูปร่างยาวมากๆ เช่น งานเพลากลม ท่อกลม แท่งโลหะ ถ้าเขียนความยาวจริงทั้งหมดลงไปในกระดาษเขียนแบบจะไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากกระดาษเขียนแบบมีพื้นที่จำกัด ในลักษณะเช่นนี้ สามารถแก้ไขได้โดยใช้วิธีการตัดย่อส่วน การตัดย่อส่วนนี้จะย่อเฉพาะความยาว หน้าตัดของงานยังคงเดิมโดยจะย่อตรงกลางรูป มาตราส่วนต่างๆ ยังคงเหมือนเดิม ลักษณะการตัดย่อรูปจะมีการเขียนแตกต่างกันไปตามลักษณะของวัตถุนั้น
5. ชิ้นงานที่ได้รับการยกเว้นการตัด

การเขียนแบบในชิ้นงานบางประเภท เช่น ซี่ล้อ หรือแขนพวงมาลัย จะเห็นว่า ถ้าตัดในแนวของการตัดจริงๆ จะทำให้เกิดความยุ่งยากในการอ่านและเขียนแบบอย่างมาก ดังนั้นในงานเขียนแบบจึง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น