วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 11 สัญลักษณ์เบื้องต้นในงานช่างอุตสาหกรรม

 สัญลักษณ์เบื้องต้นในงานช่างอุตสาหกรรม
สาระการเรียนรู้
การทำงานของเครื่องจักรแต่ละประเภท จะทำให้ผิวของชิ้นงานมีคุณภาพแตกต่างกันไป โดยทั่วไปจึงต้องระบุพื้นผิวที่จะต้องผ่านเครื่องมือกลเอาไว้ด้วย เพื่อให้สามารถตีความและควบคุมคุณภาพของผิวงานได้อย่างถูกต้อง จึงได้กำหนดสัญลักษณ์มาตรฐานของผิวงานเขียนแบบขึ้น สัญลักษณ์เหล่านี้จะเขียนไว้ในภาพที่พื้นผิวปรากฎให้เห็นเป็นเส้นเต็ม ดังนั้น อาจแสดงสัญลักษณ์หลายชิ้นในภาพเดียวกันก็ได้ หรือถ้าจำเป็นก็อาจจะแสดงไว้ในภาพที่พื้นผิวเป็นเส้นประก็ได้
เนื้อหา
1. ความหมายของสัญลักษณ์
2. สัญลักษณ์ต่างๆ ในงานช่างอุตสาหกรรม
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของสัญลักษณ์ได้
2. สามารถกำหนดสัญลักษณ์ลงในแบบงานได้ถูกต้อง
        1. ความหมายของสัญลักษณ์
สัญลักษณ์ หมายถึง สิ่งที่ใช้แทนความเข้าใจ ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ในงานเขียนแบบจึงได้กำหนดมาตรฐานสากลเพื่อช่วยให้เข้าใจรายละเอียดแบบงานชัดเจนยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องอธิบาย การนำผิวงานผ่านกระบวนการทำงานมาแล้ว เช่น ตะไบ กลึง กัด มาส่องดูด้วยแว่นขยาย จะเห็นว่า ผิวชิ้นงานนั้นขรุขระเป็นรูปคลื่น ชิ้นงานใดมีลูกคลื่นสูงแสดงว่าชิ้นงานนั้นมีผิวหยาบ ความหยาบ ละเอียดของผิวงานนี้มีผลกระทบต่องานอย่างมาก ดังนั้นผู้เขียนแบบจึงกำหนดสัญลักษณ์ลงในผิวงานเพื่อง่ายต่อการทำงานและการอ่านแบบ
2. สัญลักษณ์งานช่างอุตสาหกรรม
ในงานช่างอุตสาหกรรมหลายแขนงมีการกำหนดสัญลักษณ์เป็นมาตรฐานสากล และนำมาใช้ในงานเขียนแบบ โดยแบ่งได้หลายแขนง ดังนี้

2.1 สัญลักษณ์ทางเครื่องกล
2.1.1 สัญลักษณ์คุณภาพผิวงานตามมาตรฐาน DIN 3141
ในงานแต่ละงานจะมีคุณสมบัติในงานที่ต่างกัน คุณภาพของผิวงานใช้งานไม่เหมือนกัน เช่น กระบอกสูบของรถยนต์ ผิวต้องเรียบมากๆ เพลาที่ใช้ขับเคลื่อนรถยนต์ ผิวไม่จำเป็นต้องเรียบมาก ดังนั้นในการออกแบบและเขียนแบบงาน สามารถกำหนดมาตรฐานคุณภาพผิวงานอย่างง่าย
2.1.2 สัญลักษณ์เกลียว
สลักเกลียวที่ใช้งานโดยทั่วๆ ไป ทำหน้าที่จับยึดชิ้นงาน สามารถถอดเข้า- ออกได้โดยชิ้นงานไม่เกิดความเสียหาย ถ้านำมาเขียนแบบให้เหมือนของจริงนั้นจะต้องใช้เวลาในการเขียนนานมาก ดังนั้น การเขียนแบบเกลียวจะเขียนได้ง่ายขึ้นโดยการใช้สัญลักษณ์เกลียว ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย (มอก. 210-2520)
1. เส้นผ่านศูนย์กลางยอดเกลียว (MAJOR DIAMETER) คือ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ใหญ่ที่สุดของเกลียว
2. เส้นผ่านศูนย์กลางโคนเกลียว (MINOR DIAMETER) คือ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยอดเกลียวลบด้วยสองเท่าของความลึกฟันเกลียว
3. ความลึกฟันเกลียว (DEPTH) คือ ความลึกของเกลียวที่วัดจากยอดฟันถึงโคนฟันในแนวดิ่ง
3.1 ระยะพิตซ์ (PITCH) คือ ระยะห่างระหว่างฟันเกลียว วัดจากยอดเกลียวหนึ่งถึงอีกยอดเกลียวหนึ่ง
3.2 มุมเกลียว (THREAD ANGLE) คือ มุมของฟันเกลียว
เกลียวมี 2 ลักษณะ คือ เกลียวนอก (สลักเกลียว) และเกลียวใน (แป้นเกลียว) การแสดงสัญลักษณ์เกลียวแต่ละลักษณะจึงมีรูปแบบไม่เหมือนกัน
การเขียนสัญลักษณ์เกลียว
1. การเขียนเส้นเกลียวที่มองเห็น ให้ใช้เส้นเต็มหนาเป็นเส้นยอดเกลียว และเส้นเต็มบางเป็นเส้นโคนเกลียว
2. ภาพด้านหน้าตัดของเกลียวนอก เส้นโคนเกลียวให้เขียนด้วยเส้นเต็มบางยาว 3 ใน 4 ของวงกลม แต่ไม่ชนพอดีกับเส้นผ่านศูนย์กลาง
3. เส้นยอดเกลียวและเส้นโคนเกลียว ให้มีระยะห่างกันประมาณ 0.1 เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยอดเกลียว
4. เส้นเกลียวที่ถูกบัง ให้ใช้เส้นประเขียนแทนยอดเกลียวและโคนเกลียว
5. ภาพด้านหน้าตัดของเกลียวใน เส้นโคนเกลียวให้เขียนด้วยเส้นเต็มบางยาว 3 ใน 4 ของวงกลม ให้อยู่ด้านนอกของรูเจาะ
6. ภาพตัดของเกลียว ให้เขียนเส้นลายตัดถึงยอดเกลียว
7. เส้นสุดความยาวเกลียวที่มองเห็น ให้ใช้เส้นเต็มหนาหรือใช้เส้นเต็มบางในส่วนที่ถูกบัง
8. การเขียนเกลียวประกอบกันให้เขียนเหมือนเกลียวนอกทับเกลียวใน และส่วนที่เป็นเกลียวก็ยังให้เขียนรูปร่างคงเดิม
9. การกำหนดขนาดของเกลียว ใช้ระบบเมตริก โดยการเขียนด้วยสัญลักษณ์ M นำหน้าและเขียนตัวเลขขนาดตามหลังเช่น M10 หมายความว่าเป็นเกลียวเมตริกขนาด 10 มิลลิเมตร
4. สัญลักษณ์ทางงานเชื่อม (สัญลักษณ์ทางงานเชื่อม)
การกำหนดขนาดต่างๆ โดยอาศัยลูกศร
1. ขนาดความโตแนวเชื่อม
2. สัญลักษณ์แนวเชื่อม
3. จำนวนแนวเชื่ม       
4. ความยาวของแนวเชื่อม
5. ระยะห่างระหว่างแนวเชื่อม     
6. ส่วยหางกำหนดคุณสมบัติเฉพาะ หรือกรรมวิธีการเชื่อม (ถ้ามี)
สัญลักษณ์เพิ่มเติม
สัญลักษณ์ธง หมายถึง สถานที่ทำการเชื่อม ซึ่งหมายถึงงานใน สนาม หรืองานที่อยู่นอกโรงงานเชื่อม
 หมายถึง การเชื่อมรอบชิ้นงานอาจจะเป็นวงกลม หรือ สี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หกเหลี่ยม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น