วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่2 เครื่องมือและอุปกรณ์เขียนแบบ

เครื่องมือและอุปกรณ์เขียนแบบ
       สาระการเรียนรู้
       อุปกรณ์และเครื่องมือเขียนแบบนับเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยให้สามารถเขียนแบบได้ดี รวดเร็ว และประหยัดเวลา การเขียนแบบให้ได้มาตรฐานจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ เครื่องมือและวัสดุเขียนแบบอย่างถูกต้อง จึงควรทำความเข้าใจกับเครื่องมือเขียนแบบ เพื่อให้การเลือกซื้ออุปกรณ์ และเครื่องมือที่ถูกต้องมีคุณภาพดี
        เนื้อหา
       1. ชนิดของเครื่องมือและอุปกรณ์เขียนแบบ
       2. การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เขียนแบบ
       จุดประสงค์การเรียนรู้
       1. บอกชนิดของเครื่องมือและอุปกรณ์เขียนแบบได้
       2. สามารถใช้เครื่องมือและอุปกรณ์แต่ละชนิดเขียนแบบได้ถูกต้อง
       แบบงานที่ถูกต้องสมบูรณ์นั้น นอกจากจะอาศัยทักษะของผู้เขียนแบบแล้ว เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบก็มีส่วนสำคัญ และมีส่วนช่วยให้การเขียนแบบได้แบบงานที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ทำให้ช่างเทคนิคหรือผู้ผลิตสามารถเข้าใจรายละเอียดต่างๆ และนำไปผลิตให้ได้งานที่มีคุณภาพตามต้องการ การเขียนแบบที่ถูกต้องชัดเจนมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ผู้เขียนต้องมีประสบการณ์และความชำนาญการใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง ซึ่งเครื่องมือและอุปกรณ์เขียนแบบมีดังนี้
       1 ชนิดของเครื่องมือและอุปกรณ์เขียนแบบ
       ในงานเขียนแบบทั่วไป แบบงานจะสำเร็จสมบูรณ์ได้มาตรฐาน นอกจากจะต้องใช้ทักษะของผู้ปฏิบัติงานแล้ว เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบ ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะ เครื่องมือมีส่วนที่จะช่วยให้งานเขียนแบบมีคุณภาพได้มาตรฐาน เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบพื้นฐานประกอบด้วย
       1. โต๊ะเขียนแบบและกระดานเขียนแบบ
       การเขียนแบบทางอุตสาหกรรมขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่จะใช้โต๊ะเขียนแบบซึ่งมีโครงสร้างแตกต่างกันไป แล้วแต่บริษัทผู้ออกแบบ แต่โดยทั่วไปจะมีความสูงเป็นมาตรฐานเดียวกัน หรือบางชนิดอาจปรับความสูงให้เหมาะสมกับการใช้งานได้ พื้นโต๊ะจะเรียบเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขอบด้านข้างตรงและได้ฉาก มีขนาดต่างกัน ที่นิยมใช้มากที่สุดคือ 500 x 600 มม.
กระดานเขียนแบบ ส่วนมากใช้สำหรับงานสนาม แต่ก็ใช้ในโรงเรียนบ้างเหมือนกัน ในกรณีที่ไม่มีโต๊ะเขียนแบบ
       2. อุปกรณ์ที่ใช้ขีดเส้น
       อุปกรณ์ที่ใช้ในการขีดเส้น ได้แก่ ไม้ที บรรทัดสามเหลี่ยม และบรรทัดสเกล
       2.1 ไม้ที เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเขียนแบบ ไม้ที มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วนหัว และ ส่วนใบ ทำจากไม้เนื้อแข็ง หรือ พลาสติกใส ทั้ง 2 ส่วน จะยึดตั้งฉากกัน ไม้ที ใช้สำหรับขีดเส้นในแนวนอน และใช้ประกอบกับฉากสามเหลี่ยม ขีดเส้นในแนวตั้งฉาก และขีดเส้นเอียงทำมุมต่างๆ
       2.2 บรรทัดสามเหลี่ยม โดยทั่วไปทำจากพลาสติกใส เพื่อจะได้มองเห็นส่วนอื่นๆ ของแบบได้อย่างชัดเจน บรรทัดสามเหลี่ยมใช้สำหรับขีดเส้นดิ่งและเส้นเอนทำมุมต่างๆ ปกติจะใช้คู่กับ ไม้ที มี 2 แบบ คือ แบบตายตัว ซึ่งมีค่ามุม 45-90-45 องศา กับค่ามุม 30-90-60 องศา และแบบปรับมุมต่างๆ ได้
      2.3 บรรทัดมาตราส่วน ใช้วัดขนาด มีความยาวต่างกัน ตั้งแต่ 150, 300, 400, และ 600 มิลลิเมตร มีมาตราส่วนต่างๆ เพื่อใช้เขียนรูปได้หลายขนาด คือ
   - มาตราส่วนขนาดเท่าของจริง 1 : 1
   - มาตราส่วนย่อ 1 : 2, 1 : 5, 1 : 10, 1 : 100, 1 : 1000 เป็นต้น
   - มาตราส่วนขยาย 2 : 1, 5 : 1, 10 : 1, 100 : 1, 1000 : 1 เป็นต้น
มาตราส่วนเท่าของจริง, มาตราส่วนย่อ, หรือมาตราส่านขยาย จะนำไปใช้งานใน
       3. อุปกรณ์เขียนส่วนโค้ง
       อุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนส่วนโค้งมีหลายแบบขึ้นอยู่กับลักษณะงานและการนำไปใช้ เช่น วงเวียน แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ วงเวียนที่ใช้เขียนส่วนโค้ง และวงเวียนที่ใช้ถ่ายขนาด เป็นต้น
       3.1 วงเวียน เป็นอุปกรณ์สำหรับเขียนวงกลม หรือส่วนโค้ง วงเวียนมีหลายแบบ ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะ
       3.2 วงเวียนถ่ายขนาด เป็นวงเวียนที่มีปลายแหลม 2 ข้าง วงเวียนชนิดนี้ใช้สำหรับถ่ายขนาด ที่วัดขนาดจากฟุตเหล็ก หรือฉากสามเหลี่ยม แล้วนำไปถ่ายลงบนแบบทำให้สามารถแบ่งเส้นตรง แบ่งวงกลม ให้มีขนาดเท่าๆ กันได้สะดวกและ
       3.3 บรรทัดเขียนส่วนโค้ง (Curves) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการเขียนส่วนโค้งชนิดหนึ่ง การใช้บรรทัดส่วนโค้งจะต้องใช้ส่วนโค้งของบรรทัดสัมผัสจุด อย่างน้อย 3 จุด เพื่อให้ได้ส่วนโค้งที่ดี มีความต่อเนื่อง ซึ่งต่างกับการใช้วงเวียนที่มีระยะรัศมีเท่ากันทุกจุดของเส้นโค้งนั้นๆ แผ่นโค้งนี้ให้ความสะดวกในการทำงานสูง ซึ่งผู้ใช้เองก็ต้องระมัดระวังในการใช้งานให้ดี หมุนปรับให้ได้ตำแหน่ง ก่อนที่จะทำการลากเส้นโค้งนั้น แผ่นเขียนโค้งและการเขียนโค้งโดยใช้แผ่นเขียนโค้งในรูปแบบต่างๆ
       4. กระดาษเขียนแบบ
       กระดาษเขียนแบบที่นิยมใช้ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ ระบบนิ้ว และ ระบบมิลลิเมตร ต่อมาได้ปรับปรุงให้เป็นระบบสากล โดยใช้ระบบ ISO (International System Organization) ซึ่งยอมรับทั้งระบบอเมริกันและยุโรป นอกจากนั้น ประเทศไทยยังได้ผลิตมาตรฐานเป็น (มอก.) โดการเขียนแบบทั่วไปทางเครื่องกลซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับมาตรฐาน ISO ซึ่งมาตรฐานของกระดาษในระบบต่างๆ ได้แสดงไว้
 กระดาษเขียนแบบขนาด A0 ขนาด 841 x 1189 ม.ม. สามารถแบ่งได้เป็นขนาด A1 จำนวน 2 แผ่น และถ้านำกระดาษ A1 มาแบ่งจะได้กระดาษ A2 จำนวน 2 แผ่น ........... ดังนั้น สามารถแบ่งกระดาษได้จนถึง A6
ตารางรายการ เป็นตารางบอกรายละเอียดของชิ้นงานแต่ละชิ้นที่ประกอบกันหลายชิ้น เช่น จำนวนที่ใช้ ชื่อชิ้นงาน ขนาดวัสดุ ประเภทของวัสดุที่ใช้ หมายเลขแบบ ผู้เขียน และผู้ตรวจ สามารถจำแนกได้ตามลักษณะการใช้งานในสถานศึกษา หรือสถานประกอบการ
       5. ดินสอเขียนแบบ
       เป็นเครื่องมือที่ใช้ขีดเส้นบนกระดาษเขียนแบบ เพื่อแสดงรูปร่างต่างๆ ให้เป็นแบบที่ใช้งาน ดินสอเขียนแบบสามารถแบ่งได้เป็นหลายชนิดคือ
       5.1 ดินสอชนิดเปลือกไม้ 
       5.2 ดินสอชนิดเปลี่ยนไส้ได้ จะเป็นดินสอที่มีโครงด้ามเป็นโลหะ หรือพลาสติก และใส่ไส้ดินสออยู่ข้างใน ดินสอชนิดนี้จะมีการออกแบบมาใช้งานไว้มากมายหลายชนิด
เกรดใส้ดินสอ แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 3 เกรด คือ
   - ดินสอที่มีไส้แข็งมาก (Hard)
   - ดินสอที่มีไส้แข็งปานกลาง (Medium)
   - ดินสอแบบไส้อ่อน (Soft)
แล้วจึงแบ่งย่อยตามลำดับความแข็งอ่อนของแต่ละกลุ่ม โดยใช้วิธีให้ตัวเลขเป็นตัวกำหนดร่วมกับตัวอักษร ดังนี้
     1. ดินสอที่มีไส้แข็งมาก (Hard) มีตั้งแต่ เบอร์ 9H-4H ใช้สำหรับขีดเส้นร่างรูป เส้นที่ใช้เขียนต้องเป็นเส้นบาง เช่น ร่างรูป เส้นบอกขนาด และเส้นช่วยบอกขนาด
     2. ดินสอที่มีไส้แข็งปานกลาง (Medium) มีตั้งแต่ เบอร์ 3H-B ใช้สำหรับใช้สำหรับงานเขียนแบบงานสำเร็จรูป เช่น เส้นขอบชิ้นงาน เส้นแสดงแนวตัด และสัญลักษณ์แนวเชื่อม
     3. ดินสอแบบไส้อ่อน (Soft) มีตั้งแต่ เบอร์ 2B-7B ใช้ในงายศิลปะ วาดภาพ แรเงา ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการเขียนแบบ
     4. ปากกาเขียนแบบ
ปากกาเขียนแบบในปัจจุบันนิยมใช้ปากกาเขียนแบบหมึกซึม ขนาดความโตของปากกาเขียนแบบจะมีขนาดเท่าขนาดของเส้นมาตรฐานสากลที่ใช้ในงานเขียนแบบ
     5. อุปกรณ์ทำความสะอาด
แบบงานที่มีคุณภาพนั้น นอกจากจเขียนได้ถูกต้อง สมบูรณ์ ได้มาตรฐานแล้วนั้น แบบงานจะต้องสะอาด ดังนั้นอุปกรณ์ทำความสะอาดจึงมีความจำเป็นมาก เช่น
       5.1 แปรงปัด เป็นแปรงขนอ่อนใช้สำหรับปัดฝุ่นบนกระดาษเขียนแบบ และปัดเศษยางลบ
       5.2 ยางลบ ใช้สำหรับลบงาน มีลักษณะเป็นยางอ่อนซึ่งจะไม่ทำให้กระดาษเป็นขุยหรือเป็นรอย
       5.3 แผ่นกันลบ ทำจากโลหะบางเบา เจาะรูไว้หลายลักษณะ ใช้กันลบตรงบริเวณที่ขีดเส้นผิดพลาด
       2 การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เขียนแบบ
       1. การติดกระดาษเขียนแบบ
       การติดกระดาษเขียนแบบควรติดด้วยเทปสำหรับติดกระดาษโดยเฉพาะ เพื่อความะดวกในการแกะแบบ และป้องกันมุมของกระดาษเสียหายเนื่องจากการแกะแบบ การติดกระดาษควรจัดกระดาษให้ขนานกับโต๊ะเขียนแบบ โดยใช้ ไม้ที เป็นเครื่องตรวจสอบความขนานของกระดาษ จากนั้นใช้เทปติดกระดาษที่มุมบนทั้งสองข้าง แล้วเลื่อนไม้ทีลงไปข้างล่าง ซึ่งไม้ทีจะช่วยกดกระดาษให้เรียบกับพื้นโต๊ะ จากนั้นจึงใช้เทปติดมุมกระดาษข้างล่างทั้งสองข้าง
       2. การใช้ไม้ที ประกอบการขีดเส้นด้วยบรรทัดสามเหลี่ยม
       การขีดเส้นตรงในแนวนอนจะใช้ไม้ทีแนบกับขอบโต๊ะเขียนแบบ พร้อมทั้งหมุนดินสอช้าๆ ขณะลาดเส้น ดินสอจะเอียงทำมุม 60 องศา กับกระดาษเขียนแบบ3.
       การใช้วงเวียน เขียนวงกลมหรือส่วนโค้ง
       วิธีการเขียนวงกลมหรือส่วนโค้ง ให้ปรับขาวงเวียนข้างที่เป็นเหล็กแหลมยาวกว่าข้างที่เป็นไส้เล็กน้อย เพราะปลายแหลมต้องปรับจมลงในกระดาษ เมื่อปรับได้รัศมีที่ต้องการแล้ว ให้จับด้านวงเวียนด้วยนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ หมุนวงเวียนตามเข็มนาฬิกา และให้เอนวงเวียนไปในทิศทางของการลากเส้นเล็กน้อย พยายามหมุนวงเวียนเพียงครั้งเดียว เพื่อให้ได้เส้นที่คมและสมบูรณ์
       การใช้วงเวียนวัดระยะหรือดิไวเดอร์ ต้องระวังอย่ากดแรงเกินไป เพราะจะทำให้เกิดรูที่ไม่เรียบร้อยบนกระดาษ และจะทำให้วงเวียนถ่างออกเสียระยะอีกด้วย การหมุนดิไวเดอร์ควรหมุนสลับข้างซ้ายขวาของเส้นตรง เพื่อหักล้างความคลาดเคลื่อนสะสมใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น