วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 5 การกำหนดขนาด

 การกำหนดขนาด
       สาระการเรียนรู้
       การเขียนแบบจะต้องกำหนดขนาด เพื่อแสดงสภาวะสุดท้ายของชิ้นงาน การกำหนดขนาดจะตองใช้ความละเอียดเป็นพิเศษ ซึ่งการกำหนดขนาดของชิ้นงานนี้จะผิดพลาดไม่ได้ ถ้ากำหนดขนาดผิดพลาดหรือไม่สมบูรณ์จะก่อให้เกิดความเสียหายและเสียเวลาแก่ผู้ผลิตได้
       เนื้อหาสาระ
       1. การกำหนดขนาดความยาว
       2. การกำหนดขนาดมุม
       3. การกำหนดขนาด รัศมี วงกลมและส่วนโค้ง
       จุดประสงค์การเรียนรู้
       1. กำหนดขนาดความยาวของแบบงานได้
       2. กำหนดขนาดความยาวของมุมได้
       3. กำหนดขนาดความยาวของ รัศมี วงกลม และส่วนโค้งได้
การกำหนดขนาดแบบจัดได้ว่าเป็นหลักของการเขียนแบบอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้อ่านแบบเข้าใจและทำงานได้ถูกต้อง อ่านง่าย สะอาด สวยงาม ซึ่งผู้เขียนแบบจะต้องพิจารณาและระวังให้มาก เพราะถ้าเขียนแบบหรืออ่านแบบผิดพลาดจะทำให้งานนั้นเสียทันที การกำหนดขนาดงานตามมาตรฐานสากล (ISO) จะกำหนดขนาดเป็นมิลลิเมตร โดยเขียนเพียงตัวเลขในแบบงาน ปกติจะกำหนดขนาดจากระนาบอ้างอิง เช่น เส้นกึ่งกลางของชิ้นงาน ซึ่งประกอบด้วยเส้นกำหนดขนาด เส้นช่วยกำหนดขนาด ตัวเลขและหัวลูกศร
1.                การกำหนดขนาดความยาว
   1) เส้นกำหนดขนาด จะเขียนด้วยเส้นเต็มบาง และขนานกับแบบงาน มีความยาวเท่ากับส่วนเส้นส่วนที่จะกำหนดขนาด มีหัวลูกศรที่ปลายทั้งสองข้าง
      2) เส้นกำหนดขนาดครั้งแรกห่างจากขอบ 8 มม.
      3) เส้นกำหนดขนาดส่วนต่อไป ห่างจากเส้นกำหนดขนาด ขนาดเส้นแรก 5 มม.
      4) ขนาดที่สั้นที่สุดให้อยู่ใกล้แบบที่สุด เส้นยาวถัดไปให้อยู่ถัดไปตามลำดับ
  5) ในกรณีที่พื้นที่กำหนดมีเนื้อที่น้อย ไม่พอที่จะเขียนตัวเลขกำหนดขนาดและหัวลูกศร เราจะเขียนหัวลูกศรไว้ข้างนอก
     6) ถ้ามีที่ว่าง เราสามารถกำหนดขนาดในแบบ เพื่อให้อ่านแบบได้ง่ายและสวยงาม
     7) เส้นกำหนดขนาด จะไม่เขียนบอกต่อจากขอบของชิ้นงานโดยตรง เพราะอาจจะทำให้เข้าใจ
     8) เส้นกำหนดขนาด ไม่ควรอยู่ในเขต 30 องศา
     9) เส้นช่วยกำหนดขนาดลากตั้งฉากกับส่วนที่จะบอกขนาด ควรลากเลยขอบหัวลูกศรประมาณ 2 มม. ถ้าหากจะใช้เส้นผ่าศูนย์กลางเป็นเส้นช่วยกำหนดขนาด จะต้องลากเส้นนี้ให้เป็นเส้นเต็มบางเลยออกนอกชิ้นงาน
    10) หัวลูกศรมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายทั้งสองข้างระบายทึบ แหลมเรียว มีมุม 15 องศา ยาวประมาณ 3 มม.
    11) ส่วนที่กำหนดขนาดมีเนื้อที่น้อย หัวลูกศรเขียนไว้ข้างนอก
    12) ตัวเลขกำหนดขนาด ควรเขียนไว้เหนือเส้นกำหนดขนาด และมีความสูงของตัวเลขเท่ากันตลอด (ประมาณ 3-4 มม.)
    13) การกำหนดขนาดตามแนวดิ่ง ตัวเลขจะอยู่ทางซ้ายของเส้นกำหนดขนาด และอยู่กึ่งกลางของเส้น
    14) ตัวเลขกำหนดขนาดที่ไม่ได้มาตราส่วนจริงจะขีดเส้นใต้ไว้
    15) ตัวเลขกำหนดขนาดจะต้องอ่านจากด้านล่างแล้วเวียนขวา เมื่อแบบวางอยู่ในลักษณะปกติ
    16) แบบที่เหมือนกันควรกำหนดขนาด ณ ที่ตำแหน่งที่ชัดเจนที่สุด
    17) ไม่ควรกำหนดขนาดที่เส้นประ
    เส้นบรรทัด
    รูป A การบอกขนาดด้านเดียวติดต่อกันจะต้องใช้เส้นบรรทัดฐานจากขอบใดขอบหนึ่งของชิ้นงานเป็นหลัก ส่วนเส้นบรรทัดฐานนี้จะต้องเลือกตามลำดับการทำงาน หรือลักษณะหน้าที่ของส่วนนั้น ดังรูป A
    รูป B ชิ้นงานเหมือนกันกับรูป A แต่ใช้ขอบงาน (c) และ (d) เป็นเส้นบรรทัดฐาน
    รูป C สำหรับงานที่สมมาตรกัน (ด้านซ้ายและขวาเหมือนกัน) จะใช้เส้นศูนย์กลางเป็นเส้นบรรทัดฐานกำหนดขนาดได้
2.         การกำหนดขนาดมุม
   1) ขนาดของมุมต้องมีหน่วยวัดเป็นองศา และถ้าเป็นมุมที่ต้องการความละเอียดมากขึ้น อาจกำหนดให้หน่วยวัดเป็นลิปดาและพิลิปดา เส้นกำหนดขนาดมุมต้องเป็นเส้นโค้ง โดยให้จุดศูนย์กลางของส่วนโค้งอยู่ปลายแหลมของมุมนั้น
   2) มุมที่มีขนาดเท่ากันทั้งสองข้างเส้นศูนย์กลาง จะต้องกำหนดขนาดมุมนั้นรวมกันเป็นมุมเดียว
   3) หากมุมที่กำหนดนั้นไม่ได้แสดงจุดปลายสุดของมุม จะต้องสร้างจุดปลายสุดของมุมโดยลากเส้นบาง หรือเส้นศูนย์กลางต่อจากเส้นหนาออกมาตัดกันให้มุมต่อกันครบสมบูรณ์
   4) หากมุมนั้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ให้ถือเอาเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นเส้นกำหนดขนาด
     การกำหนดขนาดรัศมี วงกลม และส่วนโค้ง
1) ในการกำหนดรัศมี เส้นกำหนดขนาดควรเขียนให้เอียง ไม่เขียนในแนวระดับหรือแนวดิ่ง มีหัวลูกศรข้างเดียว ปลายหัวลูกศรชนขอบของส่วนโค้ง
   2) การกำหนดขนาดรัศมีเล็กๆ ให้เขียนหัวลูกศรไว้ข้างนอก
   3) ตัวเลขเขียนเหนือเส้น
   4) กำหนดจุดศูนย์กลางของส่วนโค้งเล็กๆ โดยขีดเส้นสั้นๆ ตัดกันเป็นจุดศูนย์กลาง
   5) สำหลับส่วนโค้งเล็กๆ ควรใส่ R หน้าตัวเลขกำหนดขนาด
   6) ตัวอักษร R ใช้เขียนไว้หน้าตัวเลขของรัศมีขนาดใหญ่ จุดศูนย์กลางที่อยู่ไกล
   7) จุดศูนย์กลางโตๆ ตามแนวศูนย์กลาง อาจย่นระยะเส้นกำหนดขนาดได้ โดยการทำเส้นกำหนดขนาด
   8) สัญลักษณ์ของเส้นผ่าศูนย์กลาง จะใช้แทนด้วยวงกลมมีเส้นตรงเอียงทำมุม 75 องศา กับแนวระดับและเส้นเอียงมีความสูงเท่ากับตัวเลข ซึ่งสัญลักษณ์วงกลมนี้ () ต้องเขียนไว้ข้างหน้าของตัวเลขกำหนดขนาด
   9) การกำหนดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางสามารถเขียนไว้ภายในวงกลมได้ แต่ถ้าหากว่าวงกลมมีขนาดเล็กก็สามารถเขียนไว้ภายนอกวงกลมได้
   10) ถ้าหากการกำหนดขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางภายในวงกลมทำให้ยุ่งยาก ผู้เขียนสามารถโยงเส้นออกมากำหนดขนาดภายนอกวงกลมได้
   11) ตัวเลขกำหนดขนาดเขียนเหนือเส้น อ่านเวียนขวา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น