วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 3 มาตรฐานงานเขียนแบบ

 มาตรฐานงานเขียนแบบ
       สาระการเรียนรู้
       เพื่อให้การเขียนแบบเป็นไปในแนวทางเดียวกัน การปฏิบัติงานจึงมีมาตรฐานในการเขียนแบบ โดยเฉพาะชนิดของเส้นรและตัวอักษรที่ใช้ในการเขียนแบบ จะต้องมีมาตรฐานเป็นสากล ทำให้ผู้ปฏิบัติงานทำความเข้าใจกันได้ง่าย การที่เป็นรูปแบบอันเดียวกันทำให้ข้อมูลพื้นฐานเป็นไปในแนวเดียวกัน สามารถนำไปใช้ได้ทุกสถานที่
       เนื้อหา
      1. เส้น
      2. มาตราส่วน
      3. ตัวอักษร
      จุดประสงค์การเรียนรู้
      1. บอกลักษณะของเสนและมาตราส่วนที่ใช้ในงานเขียนแบบได้
      2. เลือกใช้เส้นในงานเขียนแบบได้ถูกต้อง
      3. ใช้มาตราส่วนย่อและขยายในงานเขียนแบบได้
      4. บอกประเภทของตัวอักษรได้
      5. สามารถเขียนตัวเลขและตัวอักษรได้
        งานเขียนแบบเป็นเครื่องมือที่ใช้สื่อสารกันระหว่างผู้เขียนแบบ ผู้ออกแบบกับช่างผู้ผลิตงานเขียนแบบจึงต้องกำหนดมาตรฐานเพื่อให้มีความเข้าใจตรงกัน และในงานเขียนแบบก็มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะและประเภทงาน ในที่นี้จะกล่าวถึงในส่วนที่เป็นเบื้องต้นทั่วไป ได้แก่เส้น มาตราส่วน และตัวอักษร
1. เส้น
         ลักษณะของเส้นในงานเขียนแบบไมาว่าจะเป็นเส้นที่เขียนด้วยดินสอหรือใช้เขียนด้วยปากกาเขียนแบบ ขนาดของเส้นจะต้องคงที่สม่ำเสมอและเลือกใช้ให้ถูกกับลักษณะของเส้นนั้นๆ เส้นจะเป็นตัวกำหนด ขนาดและลักษณะรูปร่างของวัตถุ ซึ่งการเขียนรูปร่างของวัตถุนั้นต้องใช้เส้นชนิดต่างๆ หลายชนิดด้วยกัน เช่น เส้นขอบรูป เส้นประ เส้นเล็กศูนย์กลาง ฯลฯ เส้นที่ใช้ในการเขียนแบบกำหนดความหนาของเส้นตามระบบ ISO ซึ่งกำหนดเป็นมาตรฐานสากล
   การเลือกใช้เส้นจะต้องใช้ให้ถูกกับชนิดของเส้น ให้คำนึงถึงขนาดและความหนาของเส้นที่กำหนดไว้ โดยทั่วไปจะใช้ในลักษณะของค่าประมาณ ลักษณะของเส้น ไม่ว่าจะเขียนด้วยดินสอหรือใช้ปากกาเขียนด้วยน้ำหมึกนั้น ขนาดของเส้นจะต้องคงที่สม่ำเสมอและเลือกใช้ให้ถูกกับลักษณะของเส้นนั้นๆ ขนาดของเส้นที่ใช้ปากกาจะทำให้ได้เส้นคงที่สม่ำเสมอกัน ส่วนขนาดของเส้นที่ใช้ดินสอจะขึ้นอยู่กับขนาดของใส้ดินสอและการเอียงดินสอ
 2. มาตราส่วน
          แบบงานส่วนมากจะเขียนแบบเท่ากับชิ้นงานจริง บางครั้งชิ้นงานมีขนาดใหญ่ ไม่สามารถเขียนลงบนกระดาษเขียนแบบได้ จำเป็นต้องย่อขนาดลง ในขณะเดียวกันถ้าชิ้นงานมีขนาดเล็กมาก ในการที่จะเขียนเท่าขนาดจริงนั้นจะทำให้แบบไม่ชัดเจน มีขนาดเล็ก การเขียนหรือการอ่านแบบจะทำได้ยาก จำเป็นต้องเขียนแบบขยายเพิ่มใหญ่ขึ้น มาตราส่วนที่ใช้ในการเขียนแบบจึงมีส่วนจำเป็นมาก โดยแบ่งมาตราส่วนที่ใช้ในการเขียนแบบออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
         1. มาตราส่วนจริง ขนาดของชิ้นงานที่เขียนแบบจะมีขนาดเท่าของจริง สัญลักษณ์ 1 : 1 ซึ่งมีขนาดเท่ากับของจริงนั้นๆ
         2. มาตรราส่วนย่อ ขนาดของแบบงานจะย่อเล็กลงตามความเหมาะสม ซึางมีสัดส่วนดังนี้ 1 : 2, 1 : 5, 1 : 10, 1 : 100, 1 : 1000 ฯลฯ เลข 1 หมายถึง ขนาดจริง และ เลข 2 หมายถึง ย่อขนาดลงหรือครึ่งหนึ่งของของจริง นั่นคือ เป็นต้น มีใช้งานหลายขนาด ดังแสดงในตารางที่ 3
         3. มาตราส่วนขยาย ขนาดของแบบงานจะขยายใหญ่กว่าแบบจริงที่กำหนด เขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ เช่น 2 : 1 ซึ่งเลข 1 หมายถึงขนาดจริง เลข 2 หมายถึงขยายขนาดขึ้นเป็น 2 เท่า นั่นคือ เป็นต้น
 3. ตัวอักษร
          แบบตัวอักษรที่ใช้ในงานเขียนแบบ จะต้องเป็นแบบตัวอักษรที่เขียนแล้วสามารถอ่านได้ง่ายและขนาดเหมาะสมกับแบบที่เขียน ซึ่งถ้าไม่เหมาะสมแล้วจะทำให้แบบที่เขียนนั้นดูไม่สวยงามและไม่เป็นระเบียบ ดังนั้นแบบตัวอักษรจึงมีความสำคัญต่องานเขียนแบบมาก การกำหนดมาตรฐานของตัวอักษรแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ตัวอักษรโรมัน และตัวอักษรภาษาไทย
       1. ตัวอักษรโรมัน และตัวเลขอารบิคที่ใช้ในงานเขียนแบบมี 2 ชนิด คือ
          1.1 ตัวอักษรแบบตรง ตามมาตรฐานสากล (มอก.210-2520)
          1.2 ตัวอักษรแบบเอียง ตามมาตรฐานสากล (มอก.210-2520)
       2. ตัวอักษรภาษาไทย 
          ตัวอักษรที่ใช้ในราชการ ในปัจจุบันเขียนด้วยคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเป็นมาตรฐาน นิยมใช้ 2 รูปแบบ คือ
          2.1 ตัวอักษรประดิษฐ์ นิยมใช้ในการเขียนใบประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร การ์ดเชิญร่วมงาน ในพิธีต่างๆ ในการเขียนจะใช้คอมพิวเตอร์ช่วย หรือเขียนด้วยมือเปล่า
          2.2 ชนิดหัวกลม ตามมาตรฐานสากล (มอก.210-2520)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น